วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ตัดต่อวีดีโอง่ายๆ ด้วย Windows Movie Maker

ตัดต่อวีดีโอง่ายๆ ด้วย Windows Movie Maker

ขั้นตอนการทำ ขั้นตอนแรกเปิดโปรแกรม Windows Movie Maker

คลิกที่ Import video เลือกวีดีโอที่ต้องการ และคลิก Import
เมื่อคลิก Import แล้วรอสักครู่โปรแกรมกำลัง Import ไฟล์เข้ามา
หากเราเลือกมาหลายไฟล์ใน Collection จะแสดงเพียงแค่ไฟล์เดียว หากต้องการใช้ไฟล์อื่นให้คลิกด้านบน เพื่อเลือกไฟล์อื่นๆ
ในการตัดต่อวีดีโอ ให้ใช้มุมมองแบบ Timeline จากนั้นลากไฟล์วีดีโอลงมาใส่ใน Timeline
หากไฟล์วีดีโอใดเป็นนามสกุล .mpg บางครั้งในโปรแกรมจะตัดเป็นไฟล์ย่อยๆ ให้คลิกเลือกไฟล์ตามชื่อไฟล์และลากลงมาเรียงกันด้านล่างตามลำดับ
ระหว่างไฟล์แต่ละไฟล์จะมีส่วนที่ต่อกันแยกเป็นไฟล์ๆ
หากเรามองในมุมมองแบบ Storyboard เราจะเห็นไฟล์แต่ละไฟล์แยกกันอยู่ และระหว่างไฟล์แต่ละไฟล์เราสามารถที่จะใส่ Transition หรือรูปแบบการเปลี่ยนภาพได้ด้วย
การใส่ Transition ก็คลิกที่ View video transitions เลือก Transition และลากไปใส่
กลับมาที่มุมมองแบบ Timeline เราจะทำการตัดบางส่วนของวีดีโอที่เราไม่ต้องการออก เราจะต้องเพิ่มมุมมองให้มากขึ้นเพื่อให้สะดวกในการตัดบางส่วนของวีดีโอ ให้คลิกที่แว่นขยายที่มีเครื่องหมาย + เราจะได้มุมมองที่กว้างขึ้นใน Timeline
 
ขั้นตอนการตัดคือ เมื่อวีดีโอไปถึงช่วงที่เราต้องการตัด หยุดวีดีโอไว้ ให้เส้นบอกเวลา(ขีดสีฟ้าๆ)หยุดตรงจุดเริ่มที่เราต้องการตัดออก(สามารถเลื่อนได้โดยการคลิกเม้าส์หรือคลิกลากไป) เมื่อเส้นบอกเวลาอยู่ในจุดที่เราต้องการแล้ว ให้กดปุ่ม Ctrl และตัว L เพื่อตัดวีดีโอช่วงนั้น
เมื่อกดปุ่ม Ctrl และตัว L แล้ว วีดีโอจะถูกแบ่งออก จากนั้นเลื่อนเส้นบอกเวลาไปที่จุดสิ้นสุดที่เราต้องการตัด และกดปุ่ม Ctrl และตัว L
 
จะได้ช่วงวีดีโอที่เราต้องการตัดออก เอาเม้าส์คลิกที่ช่วงนั้นและกดปุ่ม Delete
วีดีโอส่วนนั้นก็จะถูกตัดออกไป จากนั้นก็ทำเช่นเดียวกันนี้กับส่วนอื่นๆ ที่เราต้องการตัด
หากเรากลับมาดูในมุมมอง Storyboard วีดีโอที่ถูกแบ่งแยกออกจากกัน สามารถที่จะแทรก Transition ลงไประหว่างวีดีโอได้ ในกรณีที่ไม่ได้ต้องการตัดวีดีโอออก แต่ต้องการแทรก Transition หรือ video effect เฉพาะช่วงใดช่วงหนึ่ง สามารถใช้เทคนิคการตัดวีดีโอออกจากกันเพื่อใส่ Transition หรือ video effect ในช่วงที่เราต้องการได้
การใส่ข้อความ เราสามารถที่จะใส่ข้อความลงบนวีดีโอได้ด้วย การใส่ก็เช่นเดียวกับใส่ข้อความธรรมดาที่ได้พูดไปแล้วตอนที่แล้ว ให้คลิกที่วีดีโอช่วงที่จะใส่ แล้วคลิก Make Title or cradits เลือกแบบที่ต้องการ
  • title at the beginning ใส่ตอนเริ่มวีดีโอ
  • title before the selected clip ใส่ก่อนหน้ารูปที่เลือก
  • title on the selected clip ใส่บนรูปที่เลือก
  • title after the selected clip ใส่หลังรูปที่เลือก
  • cradits at the end ใส่ Cradit ตอนจบวีดีโอ 
พิมพ์ข้อความ เลือก Animation โดยคลิกที่ Change the title animation เปลี่ยนสีข้อความแบบอักษรโดยคลิกที่ Change the text font and color ข้อความที่แทรกมาจะอยู่บนแถบ Title Overlay บน Timeline เราสามารถที่จะเลื่อนข้อความไปในตำแหน่งที่ต้องการ สามารถลดหรือขยายเวลาในการแสดงข้อความได้ โดยการนำเม้าส์ไปคลิกที่แถบข้อความนั้น ลากออกหรือเข้าเพื่อลดหรือขยายเวลาบนแถบตัวอักษร
เราสามารถที่จะแทรกข้อความได้ทุกช่วงของวีดีโอ และสามารถเลื่อนข้อความต่างๆ ไปในตำแหน่งที่เราต้องการได้
นอกจากนี้ตอนเริ่มและสิ้นสุดของวีดีโอ เราสามารถที่จะเลือก Fade In หรือ Fade Out เพื่อให้วีดีโอค่อยๆ Fade มา หรือ ค่อยๆ Fade หายไป นอกจากนี้ยังสามารถเลือกใส่ video effect ในแต่ละช่วงของวีดีโอได้
จากนั้นเมื่อเสร็จสิ้นการทำวีดีโอแล้วบันทึกงานตามปกติ ไฟล์ที่ได้จะเป็นนามสกุล .MSWMM และการแปลงไฟล์เป็นไฟล์วีดีโอ ให้คลิกที่ Save to my computer
ตั้งชื่อและเลือกที่เก็บวีดีโอ จากนั้นคลิก Next (เอาภาพตอนที่แล้วมาเพื่อให้เห็นภาพ)
เลือกคุณภาพของวีดีโอ หากต้องการตัวเลือกอื่นๆ เพิ่มเติมคลิกที่ Shoe more choices
จะมีตัวเลือกให้เลือกเพิ่มเติม ซึ่งจะเลือกเป็นแบบกำหนดขนาดที่แน่นอนก็ได้โดยเลือกแบบ fit size หรือตัวเลือกอื่นๆ เสร็จแล้้วคลิก Next
จะทำการ Save รอสักครู่
เสร้จแล้วคลิกที่ Finish เป็นอันเสร็จ หากไม่ต้องการให้เล่นวีดีโอ ให้เอาเครื่องหมายถูกที่ Play movie when I click Finish. ออก ไฟล์วีดีโอที่ได้จะเป็นนามสกุล .wmv

การใช้โปรแกรมNero wave editor


ขอนำเสนอความสามารถของโปรแกรม Nero wave editor ในการตัดต่อไฟล์เสียง ทั้ง mp3 ,wav และอื่น ๆ ด้วยวิะีการที่ไม่ยากนัก  ในตอนที่ 1 ขอแนะนำการต่อไฟล์เพลง โดยนำเพลงที่ชอบใจเอามาต่อกันให้เป็นไฟล์เดียว  มีวิธีการดังนี้ค่ะ
ขั้นตอนในการต่อไฟล์เสียง ให้เป็นไฟล์เดียวโดย Nero wave editor มีขั้นตอนดังนี้
การต่อไฟล์เสียงด้วยโปรแกรม Nero wave editor
1. เปิดโปรแกรม Nero wave editor ขึนมา แล้วเปิดไฟล์เสียงที่ต้องการรวม โดยคลิ๊กที่เมนู File>open > เลือกแหล่งเก็บไฟล์เสียง
การต่อไฟล์เสียงด้วยโปรแกรม Nero wave editor
2. ต้องการรวมกี่เพลง ก็เปิดขึ้นมาเท่านั้น จากรูปตัวอย่างดิฉันจะรวมไฟล์เสียง mp3 และ wav จำนวน 3 เพลง จึงเปิดมา 3 หน้าต่าง โดยมีหน้าต่างเพลง ใจสั่งมา.mp3,ซาวน์ไม้ขีดไฟกับดอกทานตะวัน.mp3 และ ไฟล์ track01.wav
การต่อไฟล์เสียงด้วยโปรแกรม Nero wave editor
3. ไปที่หน้าต่างการทำงานไฟล์ที่ต้องการจะนำมาต่อ  ให้คลิ๊ก Ctral+a หรือ ไปที่เมนู Edit>Select All เพื่อจะเลือกไฟล์เพลงทั้งหมดในหน้าต่าง Track 01.wav ไปต่อในไฟล์เพลงอื่น  หรือใช้วิธีการ คลุมดำเลือกเอาเฉพาะช่วงที่ต้องการ เมื่อได้ช่วยที่ต้องการแล้ว กด crtl+c เพื่อทำการ Copy
การต่อไฟล์เสียงด้วยโปรแกรม Nero wave editor
4. นำเคอร์เซอร์ไปวางในหน้าต่างเพลงที่ ที่เราต้องการจะเอาเพลงไปต่อ แล้ว กด crtl+v เพื่อวางไฟล์เพลงที่เราเลือกตามข้อ 3 ลงไป ตรงที่เราวางจะมีรอยเชื่อมและมีคำว่า Pasted ให้เราสังเกตได้   ดังรูปที่ 4
5. ไปที่หน้าต่างเพลงที่ยังไม่ได้ต่อ คลิ๊ก Crtl+a >crt+c แล้วนำเคอร์เซอร์ไปวางในหน้าต่างของเพลงแรก แล้ว กด Crtl+v เพื่อวางไฟล์เสียง ให้ต่อเนื่องกัน
การต่อไฟล์เสียงด้วยโปรแกรม Nero wave editor
6. หลังรวมไฟล์เพลงเสร็จแล้ว เลือกบันทึกไฟล์เสียงที่รวมกันไว้แล้ว เพื่อไว้ใช้งาน โดยไปที่หน้าต่างที่เป็นแห่งรวมของไฟล์เสียงทั้งหมด คลิ๊ก File>save as เลือกแหล่งเก็บไฟล์ที่รวม  ตั้งชื่อให้กับไฟล์เพลงดังกล่าว  แล้ว  เลือกบันทึก
การต่อไฟล์เสียงด้วยโปรแกรม Nero wave editor
โปรแกรม Nero wave editor จะทำการบันทึกไฟล์เสียงที่รวมกันดังกล่าว แล้วแสดงสถานะเสร็จสมบููรณ์ 100 เปอร์เซ็นต์ นั่นเป็นการแสดงว่า การรวมไฟล์เสียง mp3 และ wav ในครั้งนี้เสร็จสิ้นแล้วค่ะ 
การต่อไฟล์เสียงด้วยโปรแกรม Nero wave editor
- See more at: http://tipwithme.blogspot.com/2012/11/nero-wave-editor-1.html#sthash.RMisDvPc.dpuf

การใช้โปรแกรม nero


การใช้โปรแกรม nero
เริ่มต้นการใช้งาน
โปรแกรม Nero เป็นโปรแกรมใช้สำหรับการจัดการดิสก์ (ซีดี - ดีวีดี) ที่ค่อนข้างสมบูรณ์แบบ วิธีการใช้ก็ครอบคลุมหลายอย่าง สำหรับในส่วนนี้จะขอพูดถึงเฉพาะในส่วนของ การบันทึกข้อมูลก่อนนะครับ เมื่อเริ่มต้นเปิดโปรแกรมขึ้นมาจาก Shotcut Smart Start เราจะเห็นหน้าตาแบบนี้ ซึ่งถ้าดูจากมุมบนด้านขวา จะเห็นตัวเลือก CD หรือ DVD ให้เราคลิกเลือกได้ว่า จะเลือกทำงานเป็น CD หรือ DVD ดังนั้นก่อนเริ่มงานทุกครั้งให้เลือกตรงนี้ก่อนว่าจะเลือกทำงานชนิดใด



เมื่อมองลงมาอีกแถว จะเป็นส่วนของ ทาส์ก (Task) ต่าง ๆ ที่เป็นรูป ดาว แฟ้ม ตัวโน๊ต ฯ ซึ่งเราจะค่อย ๆ ทำความรู้จักกับเครื่องหมายเหล่านี้ทีละตัวครับเริ่มต้นที่เครื่องหมายรูป "ดาว" (Favorites) ซึ่งหมายถึงรายการคำสั่งต่าง ๆ ที่เราเลือกใช้เป็นประจำ จะถูกนำมารวมไว้ที่นี้ หากต้องการเลือกคำสั่งที่มากขึ้นก็ต้องคลิกเลือกจาก เครื่องหมายอื่น ๆ บน ทาส์กบาร์ ซึ่งขั้นต้นนี้เราจะพูดถึงในส่วนของการบันทึกข้อมูลก่อนเป็นหัวข้อแรก



การบันทึกข้อมูลด้วย Nero
มีวิธีทำได้สองวิธี คือการเขียนแบบครั้งเดียวและไม่สามารถเขียนต่อได้อีก (No Multisession) หรือ แบบที่สามารถเขียนเพิ่มเติมได้ทีหลัง หากการเขียนลงซีดีครั้งแรกยังใช้พื้นที่ของแผ่นไปไม่หมด (แผ่นซีดีปกติจะมีพื้นที่ 700 MB) ในที่นี่หมายถึงการเขียนแผ่น CD-R
ปกตินะครับ ไม่ได้หมายถึงแผ่น CD-RW หรือ DVD-RW
เริ่มต้นด้วยการ คลิกเลือกที่ ทาส์กบาร์รูปแฟ้ม (ตามภาพ) จะเห็นคำสั่งย่อย 2 ตัวคือ "สร้างดิสก์ข้อมูล" และ "สร้างเอาดิโอซีดี และ CD ข้อมูล" ซึ่งหมายถึงการบันทึกข้อมูลโหมดผสม (Mix Mode) ระหว่าง Audio (เพลง) และ Data (ข้อมูล) ลงในแผ่นซีดี เดียวกันซึ่งมีวิธีการทำเหมือนกันทั้งสองคำสั่ง
วิธีแรก การเขียนข้อมูลแบบครั้งเดียว
เริ่มต้นทำงาน คลิกเลือกที่ (1) สร้างดิสก์ข้อมูล หรือ (2) สร้างเอาดิโอซีดี และ CD ข้อมูล ตามต้องการ แต่ในตัวอย่างนี้ขอเลือกที่ (1)


เมื่อคลิกเลือกคำสั่งจะเข้าสู่หน้าต่าง Nero Express ซึ่งมีส่วนประกอบสำคัญ ๆ ดังนี้
1. เปลี่ยนชื่อดิสก์ได้ ตามชอบใจโดยโปรแกรมจะตั้งชื่อดิสก์เริ่มต้นมาให้เป็น "ดิสก์ของฉัน" เสมอ
2. เพื่อสลับไปใช้โหมด Nero Burnning Rom ซึ่งสามารถปรับแต่งค่าต่าง ๆ ได้ตามชอบใจ แต่จะขอพูดถึงในหัวข้อต่อไป
3. ปุ่ม “เพิ่ม” ใช้เพื่อนำข้อมูลมาเตรียมเพื่อเขียนลงแผ่น
4. ดูปริมาณข้อมูลที่นี่ ซึ่งต้องไม่เกิน 700 MB (ขีดสีแดง) แต่ดีที่สุดไม่ควรให้เกิน 650 MB (ขีดสีเหลือง)
คลิกปุ่ม "เพิ่ม" เพื่อเริ่มงานต่อไป


ซึ่งจะเข้าสู่หน้าต่าง "เลือกไฟล์และโฟลเดอร์" ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1. เลือก โลเคชัน ที่ต้องการเพื่อทำการเลือกไฟล์และโฟลเดอร์เพื่อมาบันทึก ตามตัวอย่างจะเลือกไฟล์ต่าง ๆ จาก โลเคชัน My Docunment
2. รายละเอียดของ ไฟล์และโฟลเดอร์ต่าง ๆ จะปรากฏในช่องนี้ (2) หากต้องการไฟล์หรือโฟลเดอร์ไหนก็ให้ทำการคลิกเลือก (แถบสีทึบ)
3. คลิกที่ปุ่ม "เพิ่ม" เพื่อนำไฟล์หรือโฟลเดอร์ที่ต้องการเข้าสู่โปรแกรมเพื่อเตรียมเขียนลงแผ่น หากต้องการเพิ่มไฟล์อื่น ๆ ก็สามารถหาเพิ่มได้จาก โลเคชั่น > เลือกไฟล์ > และ “เพิ่ม” จนกว่าจะได้ไฟล์ที่ต้องการครบ
4. คลิกที่ปุ่ม "จบแล้ว" เพื่อจบการทำงาน และกลับเข้าสู่หน้าต่าง Neor Express เพื่อทำการเขียนลงแผ่นซีดี

กลับมาสู่หน้าต่าง Nero Express ไฟล์ที่เลือกมาแล้วจะมาแสดงอยู่ในช่อง (1) ส่วนปริมาณพื้นที่จะแสดงผลอยู่ในช่องที่ (2) ถ้าต้องการเขียนลงแผ่นเลย ให้คลิกที่ปุ่ม "ต่อไป" (3)



ตามภาพ
- เลือกไดร์ฟซีดีที่จะเขียน (หากมีเครื่องเขียนซีดีมากกว่า 1 ตัว) หรือเลือก "Image Recorder" เพื่อบันทึกเป็นอิมเมจไฟล์
- เลือกความเร็วในการเขียน
- เลือก "สำเนา" หมายถึง จำนวนที่จะเขียนกี่แผ่น
- ติ๊กเครื่องหมายถูกในช่อง "อนุญาตไฟล์ให้เพิ่มภายหลังได้" หากต้องการนำแผ่นซีดีที่เขียนแล้ว มาทำการเขียนเพิ่มต่อที่หลัง (มัลติเซสชั่น) ในกรณีที่การเขียนครั้งแรกยังใช้พื้นที่ของแผ่นซีดีไปไม่หมด
- คลิกเลือก "เบิร์น" เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนการเขียนลงแผ่นซีดี เป็นอันเสร็จสิ้นครับ




การเขียนเป็น อิมเมจไฟล์ (Image File)


อิมเมจไฟล์ คือไฟล์เสมือนที่จะถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเก็บข้อมูลต่าง ๆ ในรูปแบบ (Format) ของต้นฉบับเดิม หรือที่จะสร้างขึ้นมา ตัวอย่างเช่น ปัจจุบันเราต้องการสร้างแผ่นซีดีข้อมูล หากเราจะนำมาสร้างเป็นอิมเมจไฟล์ก็จะได้ไฟล์ ไฟล์หนึ่งซึ่งเป็นเสมือนซีดีแผ่นที่เราต้องการจะสร้างขึ้นมา โดยมีข้อมูลต่าง ๆ อยู่ภายในเหมือนแผ่นซีดีทั่ว ๆ ไป แต่จะถูกจัดเก็บไว้เป็นไฟล์ ๆ หนึ่งเท่านั้น
การเปิดอิมเมจไฟล์ที่เป็นรูปแบบซีดี หรือ ดีวีดี ต้องใช้โปรแกรมเฉพาะเปิดเท่านั้น (จะอธิบายในตัวอย่างต่อไป)
ตามตัวอย่าง
ในช่อง "เครื่องบันทึกปัจจุบัน" ให้เลือก "Image Recorder" แล้วกดปุ่ม "เบิร์น" เพื่อทำการบันทึก



จะเข้าสู่หน้าต่าง "บันทึกอิมเมจไฟล์" ให้ทำการ (1) ตั้งชื่อไฟล์ตามต้องการ (2) เลือกที่เก็บ อิมเมจไฟล์ และ (3) กดปุ่มบันทึก ก็จะกลับเข้าสู่การเขียนเป็น "อิมเมจไฟล์" เป็นอันสิ้นสุดการทำงาน




การบันทึกข้อมูลแบบนำมาบันทึกต่อได้อีกครั้ง (Multisession) 

สำหรับวิธีการทำงานขั้นต้นยังคงเหมือนเดิมทุกประกัน ตั้งแต่เปิดโปรแกรม – เลือกคำสั่ง – การเลือกไฟล์ที่จะเขียน – การเพิ่มไฟล์ – การสั่งเขียนลงแผ่นซีดี จะแตกต่างกันในขั้นตอนการเขียนลงแผ่นซีดี เพียงเล็กน้อย โดยการคลิกเลือกในช่อง "อนุญาตไฟล์ให้เพิ่มภายหลังได้" เท่านั้น



ในการทำงานสำหรับดิสก์ใหม่ที่ทำการบันทึก และทำมัลติเซสชั่นครั้งแรก หรือดิสก์ที่เคยบันทึกแบบมัลติเซสชั่นมาแล้ว จะมีคำเตือน (ตามตัวอย่าง) นี้ขึ้นมา ไม่ต้องไปใส่ใจอะไรเพียงแต่คลิก Yes เท่านั้น



ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการเขียนลงแผ่นซีดี ถือเป็นการสิ้นสุดการทำงาน และการทำมัลติเซสชั่นนั้นสามารถทำได้เรื่อย ๆ จนเต็มความจุของแผ่นซีดี




การเขียนแผ่นซีดีด้วย Nero Burning Rom
อีกวิธีของการเขียนแผ่นซีดีซึ่งถือได้ว่าเป็นฟังชั่นเก่าแก่ของโปรแกรมคือ Nero Burning Rom ซึ่งใช้งานได้ง่าย ๆ ปรับแต่งค่าต่าง ๆ ได้หลากหลาย ก่อนที่เราจะเข้ามาดูถึงวิธีการทำงานกัน เรามาดูถึงการเปิดโปรแกรมขึ้นมาก่อนนะครับ ซึ่งทำได้ 2 วิธีคือ
เปิดขึ้นมาจาก Smart Start แล้วคลิกตามภาพ (ตรงลูกศร)



จากนั้นก็จะเข้าสู่ หน้าต่าง Smart Start แบบเต็มรูปแบบ ให้คลิกเลือกที่ Nero Burning Rom



หรือเลือกเปิดจาก Start > All Programs > Nero > Nero Ultra Edition > Nero Burnning Rom ตามภาพ



เมื่อเปิดโปรแกรมขึ้นมาจะเข้าสู่หน้าต่าง "การคอมไพล์ใหม่" ซึ่งมีส่วนประกอบสำคัญ ๆ อยู่ 3 ส่วนดังนี้
- ในกรอบสีชมพู เป็นส่วนของ ซีดีโหมด ( Cd Mode ) ซึ่งจะให้เราเลือกได้อิสระ ว่าจะทำเป็น ซีดีข้อมูล ( CD-Rom ISO ) หรือ ซีดีเพลง วีดีโอซีดี หรืออื่น ๆ การเขียนแผ่นซีดี ไม่ว่าจะเลือกโหมดใดก็ตาม สามารถใช้คำสั่งเขียนได้เหมือน ๆ กัน
- ในกรอบสีเขียว เป็นส่วนของการปรับแต่งค่าต่าง ๆ อาทิเช่น แท๊ปมัลติเซสชัน สามารถเลือก เริ่มทำมัลติเซสชัน สำหรับการบันทึกลงซีดีครั้งแรก หรือเลือกทำมัลติเซสชั่นต่อ สำหรับ CD-R ที่เคยบันทึกแบบมัลติเซสชั่นมาก่อนแล้ว หรือเลือก ไม่มีมัลติเซสชั่น หากไม่ต้องการนำซีดี มาเขียนเพิ่มภายหลัง
- กรอบที่สามสีส้ม เป็นกรอบสำหรับสร้างงาน โดยคลิกที่ปุ่ม "สร้าง" หรือยกเลิกการทำงานโดยคลิกที่ปุ่ม "ยกเลิก" หรือเปลี่ยนกลับไปเขียนซีดี ด้วย Nero Express



สำหรับรายละเอียดในกรอบสีเขียวตรงกลาง มันแท๊ปที่สำคัญอยู่ 3 ส่วนคือ แท๊ปมัลติเซสชั่น ซึ่งได้อธิบายไปแล้วด้านบน ส่วนแท๊ปต่อมาที่น่าสนใจคือ "เลเบล"
1. โวลุ่มเลเบล การตั้งชื่อแผ่นซีดี จะตั้งชื่อได้เป็นภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่เท่านั้น
2. เอาเครื่องถูกในกรอบสี่เหลี่ยมออก หากต้องการเขียนชื่อของแผ่นซีดี เป็นภาษาไทย โดยจะเขียนลงไปได้ในช่อง "โจเลียต"
ถ้าไม่เขียน ชื่อซีดี เมื่อนำมาเปิดด้วยคอมพิวเตอร์จะแสดงผลชื่อเป็นภาษาอังกฤษที่เขียนลงไว้ใน "โวลุ่มเลเบล" เท่านั้น



แท๊ป "เบิร์น"
1. เลือกที่ "เขียน"
2. เลือกความเร็วในการเขียน
3. เลือกจำนวนสำเนา ว่าต้องการจะเขียนกี่แผ่น จากนั้นเลือกที่ "สร้าง" (4) เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนการเลือกไฟล์เพื่อนำมาเขียน



เมื่อเลือกคำสั่ง "สร้าง" จะเข้าสู่หน้าต่าง Nero Burnning Rom ซึ่งจะประกอบด้วยส่วนสำคัญต่าง ๆ ดังนี้
"โปรแกรมเรียกดูไฟล์" (1) ซึ่งจะแสดงส่วนต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ซึ่งเราสามารถคลิกเลือกเพื่อดูไฟล์ต่าง ๆ ที่เก็บไว้ได้โดยไฟล์ต่าง ๆ เหล่านั้นจะไปแสดงรายละเอียดใน (2) ให้ทำการคลิกเลือกไฟล์หรือโฟลเดอร์ต่าง ๆ ที่ต้องการ (แถบสีทึบ)
"ISO 1" เมื่อทำการคลิกเลือกไฟล์ที่ต้องการได้แล้ว ให้คลิกซ้ายค้างไว้ แล้วยกมาใส่ในช่อง (3) ซึ่งจะแสดงรายการไฟล์ที่ทำการเขียนลงแผ่นซีดี โดยปริมาณข้อมูลจะแสดงให้เห็นในแถบด้านล่าง (4)



เมื่อเลือกได้ตามที่ต้องการให้ทำการคลิกเลือกที่เครื่องหมาย "เบิร์น" (ตามภาพ) เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนการเขียนลงแผ่น



จากนั้นจะกลับเข้าสู่หน้าต่าง "การคอมไพล์ใหม่" อีกครั้งหนึ่งซึ่งสามารถตรวจดูรายละเอียดต่าง ๆ ได้อีกครั้งหนึ่ง เมื่อพอใจแล้วให้คลิก "เบิร์น" เพื่อทำการเขียนลงแผ่นซีดี